โครงงาน

โครงงาน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลด์เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อาจารย์ที่ปรึกษา อ.เกรียงวุธ นีละคุปต์ ผู้จัดทำ นายประดิษฐ์ อุ่มเอิบ ที่มาและความสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษาศาสนาแลวัฒนธรรมสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1โรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์ไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมและสื่อการเรียนการสอนนั้นมีไม่เพียงพอสำหรับผู้เรียน สื่อเป็นสิ่งสำคํญในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ E-Lerning เป็นนวัตกรรมที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและศึกษาได้สะดวกกว้างขวาง กระบวนการจัดการเรียนการสอน Blog เป็นรูปแบบ E-Lerning รูปแบบหนึ่งซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายการนำ Blog มาใช้ในการศึกษาจะแก้ไขผู้เรียนให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นและมีคุณสมบัติแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงนำ Blogมาเป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหา Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเองมีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เจ้าของบล็อกจะเป็นคนที่ถนัดในด้านไหน ก็มักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้นและจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติและจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริงสรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย โครงสร้างของ Blog 1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ 2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line) ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ 3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp) เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน 4. ชื่อบทความ (Entry Title) ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก 5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body) อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ 6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author) บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้าง (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้ 7. คอมเม้นต์ (Comment tag) เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ ได้ 8. ลิงค์ถาวร (Permalink) เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร 9. ปฎิทิน (Calendar) บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารกคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ 10. บทความย้อนหลัง (Archives) บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้ 11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links) เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ 12. RSS หรือ XML ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้ เทคนิคของการสร้าง Blog 1. ใส่ใจกับรูปแบบดีไซน์ของ blog ลองสังเกตดูง่าย ๆ สำหรับบล็อกชั้นนำของโลก ต่างก็ไม่ได้ใช้ template แจกฟรีที่มีกันทั่วไป แต่บล็อกชั้นนำเหล่านี้ ต่างก็ออกแบบดีไซน์ของบล็อกขึ้นมาเองทั้งหมด ทำให้บล็อกนั้นดูมีความแตกต่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น 2. ใส่ใจกับเนื้อหาของบล็อก ก่อนที่คุณจะสร้างบล็อกขึ้นมาซักแห่งหนึ่ง ลองวางแนวทางของเนื้อหาในบล็อกดูก่อน ว่าเราต้องการจะนำเสนอบทความรูปแบบไหน เราจะมีวิธีนำเสนอไปในทางใด สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณไม่หลุดประเด็น จากที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก เช่น บล็อกของ keng.com ต้องการจะเป็น บล็อกที่นำเสนอข้อมูลด้านการทำบล็อก ดังนั้นควรวางแนวทางไว้ว่า ต้องมีข่าวสารวงการบล็อกทั่วโลก มาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน และยังต้องมีเทคนิคการทำบล็อกสำหรับมือใหม่ เช่นบทความเรื่อง “blog คืออะไร?” และมีเทคนิคสำหรับขั้นผู้เชี่ยวชาญ เช่นการใส่ Tag หรือการ Ping ไปยัง blog search engine เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้น ดังเช่นตัวอย่างบทความ ที่ได้เขียนขึ้นมาเหล่านี้ เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางของบล็อก 3. ใส่ใจผู้อ่าน มากกว่าใส่ใจตัวเอง เนื้อหาของบล็อกเป็นสิ่งที่ผู้อ่านใส่ใจใคร่รู้ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาที่เราวางระเกะระกะในเว็บไซต์แต่อย่างใด ดังนั้นการจัดรูปแบบโฆษณา ต้องคำนึงถึงจิตใจผู้อ่านด้วย ว่าถ้าเป็นเราเอง ไปอ่านบล็อกคนอื่น แล้วมีโฆษณามาเกะกะในตัวบทความ เราชอบหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบทความของเราเขียนได้ดี ผู้อ่านก็จะมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก และอาจมีผู้อ่านมากขึ้นทุก ๆ วัน หลังจากนั้นแล้ว รายได้จากค่าโฆษณาจะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปใส่โฆษณา แทรกลงไปในตัวบทความอีกด้วย 4. ใส่ใจ comment ที่มีเข้ามา บล็อกสามารถใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร ได้ด้วยระบบ comment ในตัวเอง ซึ่งโปรแกรมสร้างบล็อก (ฺBlogware) ส่วนใหญ่ มีระบบ comment ติดมาให้ด้วยอยู่แล้ว ลองใช้ระบบนี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน comment การตอบ comment ต่าง ๆ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์จากการดึงประเด็นเด็ด ๆ จาก comment มาใช้เขียนบทความก็เป็นได้ ดังนั้น ทุก ๆ วันควรที่จะตรวจสอบว่ามี comment ใดเข้ามาบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้ทันท่วงที เมื่อเราตอบได้เร็ว ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมในการสื่อสาร ทั้งสองฝ่ายก็แฮปปี้ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งถ้าเราตรวจสอบ comment ทุกวันก็คือ เราสามารถลบพวก spam comment ออกได้อย่างทันควันไงครับ 5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์ ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของเรา แสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูว่า ถ้าวันใดที่มีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่ต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่เคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว 6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสม เมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก อาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ เช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คน ว่าจะสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเอง 7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความ ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งที่กินทรัพยากรของระบบ และบล็อกมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลย วิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพมีดังนี้ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองใช้เป็น gif ดู ข้อดี - มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog) - เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ - ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ - หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ - สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ - สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ - ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info) - มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน) - Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก ข้อเสีย - ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป - แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว - เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ) ดังนั้นการเลือกทำ Blog ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกวิธีหนึ่ง ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนในการเรียนการสอนในศตวรรษที่21 ซึ่งสนองนโยบายการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัจจุบัน วงการ Blog นั้นได้พัฒนาขึ้นมาก ทั้งลูกเล่นและฟังกชั่น การออกแบบดีไซน์ มีรูปแบบ Template สวยๆให้เลือกใช้มากมาย ครอบคลุมในสิ่งจำเป็นหลักๆได้ทั้งหมดซึ่งผู้เรียนจะเรียนอย่างมีความสุข วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัการเรียนการสอน สมมติฐานของการศึกษา หลังจากผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลด์Lerningแล้วผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นผู้เรียนได้รับข้อมูลที่กว้างขวางขึ้นสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาที่ผู้เรียนต้องการศึกษารวมทั้งผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นและเรียนอย่างมีความสุข ขอบเขตของการทำโครงงาน ประชากรกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์จำนวน 29 คน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของผู้เรียน วิธีการดำเนินงาน ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์จำนวน 29 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีขั้นตอนการสร้างและตรวจสอบคุณภาพดังนี้ ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัดกำหนดจำนวนข้อสอบที่ใช้วัดแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้ ดำเนินการสร้างแบบทดสอบ ตามที่กำหนดไว้ ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยผู้สอน ความสอดคล้องของแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการวัด ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อ Blog ในการเรียนการสอนในเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบแผนที่กำหนดไว้โดยมีขั้นตอนดังนี้ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 29 คน ทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบ ดำเนินการใช้ แบบทดสอบกับนักเรียนเป็นเวลา 1 คาบเรียน ทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการเรียนโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมินผลความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนผ่าน Blog การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้จัดทำได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 41.1 การหาค่าเฉลี่ย X ̅ =(∑X)/N เมื่อ X ̅ แทน ค่าเฉลี่ย ∑^X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง 41.2 การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ สูตร (ชูศรี วงศ์รัตนะ 2525: 35) 〖S.D. 〗_= √(N∑X^(2 -) ) (∑〖X)〗^2 (N(N-1)) ̅ เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ∑X^2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง (∑〖X)〗^2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์นี้มีการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนระหว่างเรียนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลผู้จัดทำได้ดำเนินการใช้คะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ตารางที่ 1 แสดงผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจำนวน 29 คน ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ก่อนเรียน 20 คะแนน หลังเรียน 20 คะแนน ผลต่าง เกณฑ์ ผ่าน ไม่ผ่าน 1 นาย โยธิน พูลบางยูง 8 16 8 / 2 นาย คมกฤช ทองอินทร์ 5 17 12 / 3 นาย นิคม วิแสง 7 17 10 / 4 นาย พิศุทธิ์ เอื้อเฟื้อ 8 16 8 / 5 นาย นพวิชัย อินทรขำ 6 18 12 / 6 นาย อำนวยชัย เนียมหอม 7 18 11 / 7 นางสาว สุภาพร แซ่ซิ้ม 8 16 8 / 8 นางสาว ธันสีชนก ทองมี 9 16 7 / 9 นางสาว น้ำฝน วงศ์ประวัติ 8 17 9 / 10 นางสาว สุปราณี แก้วประเสริฐ 7 18 11 / 11 นางสาว ชุติมา พลับวังกล่ำ 7 17 10 / 12 นางสาว อรวรรณ วิเวกวรรณ์ 8 16 8 / 13 นางสาว สุภาวดี สิทธิกูล 6 18 8 / 14 นางสาว อัจจิมา เจริญพิทักษ์ประชา 7 18 11 / 15 นางสาว ศิริวรรณ ชาโชติ 8 16 8 / 16 นางสาว ชัฎดาพร ตุลานนท์ 9 16 7 / 17 นางสาว สุทธิดา พ่วงมาลี 8 16 8 / 18 นางสาว กาญจนา ถาวรนุกูลพงศ์ 9 16 7 / 19 นางสาว กนกวรรณ แซ่งุ้ย 8 17 9 / 20 นาย สุธิชัย ขูทะ 7 18 11 / 21 นาย พีระวัตร สุขอาภรณ์ 8 16 8 / 22 นาย จตุรงค์ พ่วงปาน 8 17 9 / 23 นางสาว ญาณิศา ไวเรืองศิริพงศ์ 9 16 7 / 24 นางสาว สโรชา รวยภิรมย์ 7 18 11 / 25 นางสาว ชลิตา ศรีเดช 6 18 12 / 26 รวม สุมินตา พิฤกษ์ 7 18 11 / 27 นางสาว จุฑามาศ เพ็งแสวง 8 17 9 / 28 นางสาว รัตนาภรณ์ เกิดเทวา 7 18 11 / 29 นางสาว มัณฑนา ทับทิมทอง 8 17 9 / เฉลี่ย 8 16.65 16.30 / จากตารางที่1 แสดงว่านักเรียนทั้ง 29 คนมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 8 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.65 และนำคะแนนหลังเรียนไปเทียบเกณฑ์พบว่านักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 29 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนเว็บบล็อคมีนักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นก่วาการใช้สื่อแบบเดิมนักเรียนได้รับข้อมูลที่มากขึ้นจึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ออกมาตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ การศึกษาในครั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนหลังเรียนโดยการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้จัดทำได้ดำเนินการใช้คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นมีความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นได้รับข้อมูลที่มากขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ศึกษาที่เรียนจากบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม ( social media ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เว็บบล็อก ( weblog ) โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นมีลักษณะที่ใช้มาตราสว่น ประเมิณค่าของลิเคิร์ต ( Likert’ Rating Scals ) มี 4 ระดับดังนี้ พอใจมากที่สุด มีค่าน้ำหนัก 4 พอใจมาก มีค่าน้ำหนัก 3 พอใจปานกลาง มีค่าน้ำหนัก 2 พอใจน้อย มีค่าน้ำหนัก 1 การนำคะแนนมาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าดังนี้ ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.00 หมายถึง พอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง พอใจมาก ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายถึง พอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายถึง พอใจน้อย เปรียบเทียบกับเกณฑ์ของเบสท์ ( Best , 1970 อ้างถึงบุญมี พันธุ์ไทย, 2545:60 ) ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 3 สัปดาห์ ที่ กิจกรรม ระยะเวลาปฏิบัติงาน (3 สัปดาห์) 1. 1. 2. 2. 3. 4. 4. 1 ค้นคว้าหาข้อมูล เอกสาร แนวคิดหลัก 2 พัฒนานวัตกรรม 3 สร้างเครื่องมือเก็บรวมรวบข้อมูล 4 ทดลอง 5 เก็บรวบรวมข้อมูล 6 วิเคราะห์ข้อมูล 7 จัดทำรูปเล่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น